ตั้งแต่เริ่มผลิตบอร์ดอาดุยโน่รุ่นแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันมีการผลิตบอร์ดอาดุยโน่รุ่นต่างๆออกมาจาหน่ายแล้วมากกว่า 17 รุ่น แต่บอร์ดที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนามือใหม่ นอกจากบอร์ดอาดุยโน่ อูโน่ (ARDUINO UNO) ก็มีอยู่อีกจานวน 2 รุ่น ดังนี้
บอร์ดอาดุยโน่ นาโน (ARDUINO NANO)
บอร์ดอาดุยโน่ เมกา (ARDUINO MEGA)
1.2.1 บอร์ดอาดุยโน่ นาโน (ARDUINO NANO)
บอร์ดอาดุยโน่ นาโน ในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 (V3) เป็นบอร์ดอาดุยโน่ขนาดเล็ก มีความกว้าง 18 มิลลิเมตร และมีความยาว 45 มิลลิเมตร ใช้ไมไครคอนโทรลเลอร์ AVR ATMega328 ตัวถังแบบ SMD มีความสามารถใกล้เคียงกับบอร์ดอาดุยโน่ อูโน่ เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นงานขนาดเล็ก สะดวกในการพกพา ดังแสดงในรูปที่ 1.3 โดยที่มีขาสำหรับรับและส่งข้อมูลดังนี้
1.2.1.1 ขาสำหรับรับและส่งแบบดิจิทัล (Digital I/O pin) มีจำนวน 14 ช่อง เท่ากับบอร์ด อาดุยโน่ อูโน่ โดยที่จะสามารถเชื่อมต่อได้ที่ขา D0 – D13 โดยที่ขา D0 และ D1 ถูกสงวนไว้ใช้เป็นขาสำหรับติดต่อทางพอร์ตอนุกรม เป็นขา Rx และ Tx เพื่อการอัพโหลดโปรแกรม
1.2.1.2 ขารับสัญญาณระบบอนาลอก (Analog In pin) จะมีด้วยกันทั้งหมด 8 ขา โดยทีจะสามารถรับสัญญาณอนาลอกได้ที่ขา A0 – A7
1.2.1.3 ขาส่งสัญญาณระบบอนาลอก (Analog Out pin) จะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ขา เท่ากับบอร์ดอาดุยโน่ อูโน่ ซึ่งประกอบด้วย D3, D5, D6, D9, D10 และ D11 โดยที่จะมีการส่งสัญญาณออกไปในรูปแบบ Pulse Width Modulation (PWM)
1.2.2 บอร์ดอาดุยโน่ เมกา (ARDUINO MEGA)
บอร์ดอาดุยโน่ เมกา ในปัจจุบันเป็นมีการปรับปรุงเป็นรุ่นที่ 3 (Rev3) เป็นบอร์ดอาดุยโน่ ขนาดใหญ่ มีความกว้าง 53.3 มิลลิเมตร และมีความยาว 101.52 มิลลิเมตร ใช้ไมไครคอนโทรลเลอร์ AVR ATMega2560 ตัวถังแบบ SMD ซึ่งมีขาสำหรับการรับและส่งข้อมูลจำนวนที่มากขึ้น จึงเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในชิ้นงานที่ต้องการเชื่อมต่อกับเซนเซอร์จำนวนมาก ดังแสดงในรูปที่ 1.4 โดยที่มีขาสำหรับรับและส่งข้อมูลดังนี้
1.2.2.1 ขาสำหรับรับและส่งแบบดิจิทัล (Digital I/O pin) มีจานวน 54 ช่อง โดยที่จะสามารถเชื่อมต่อได้ที่ขา D0 – D54 โดยที่ขา D0 และ D1 ถูกสงวนไว้ใช้เป็นขาสำหรับติดต่อทางพอร์ตอนุกรม เป็นขา Rx และ Tx เพื่อการอัพโหลดโปรแกรม และขาสำหรับติดต่อทางพอร์ตอนุกรมเพิ่มเติมอีก 3 คู่ ได้แก่ D14 กับ D15 D16 กับ D17 และ D18 กับ D19
1.2.2.2 ขารับสัญญาณระบบอนาลอก (Analog In pin) จะมีด้วยกันทั้งหมด 16 ขา โดยทีจะสามารถรับสัญญาณอนาลอกได้ที่ขา A0 – A15
1.2.2.3 ขาส่งสัญญาณระบบอนาลอก (Analog Out pin) จะมีด้วยกันทั้งหมด 15 ขา ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ ~ อยู่ที่ขาสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณแบบอนาลอกได้ ซึ่งประกอบด้วย D0-D13 และ D45 โดยที่จะมีการส่งสัญญาณออกไปในรูปแบบ Pulse Width Modulation (PWM)